“ธนบุรี เฮลท์แคร์” ขานรับแนวคิด Social Business ระบบสาธารณสุขไม่หวังผลกำไรพร้อมเข้าถึงทุกชนชั้น
“ธนบุรี เฮลท์แคร์” ขานรับแนวคิด Social Business ระบบสาธารณสุขไม่หวังผลกำไรพร้อมเข้าถึงทุกชนชั้น
ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของประเทศไทย เมื่อศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ.2549 จากความพยายามสร้างพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจจากฐานราก “กรามีนแบงค์” ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเรียกร้องและเชิญชวนให้ผู้ประกอบธุรกิจให้ความสนใจและช่วยเหลือสังคมให้มากขึ้น หรือ Social Business ซึ่งนอกจะสนับสนุนให้การประกอบธุรกิจมีความยั่งยืนและพัฒนาคุณภาพชีวิตมวลมนุษยชาติได้เท่าเทียมกัน การช่วยเหลือสังคม ก็สามารถสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรในระยะยาวได้
และด้วยระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยรับมือวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะบทบาทของ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป มีแนวคิดสอดคล้องกับระบบ Social Business ที่จะเป็นโรงพยาบาลทางเลือกของประชาชนทุกชนชั้น เป็นศูนย์รวมให้อิสรภาพแก่แพทย์ และมีการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ ด้วยผลงานของกลุ่ม THG จากการรับมือสถานการณ์โควิด-19 สร้าง ICU สนาม 3 แห่ง รวม 740 เตียง สร้างฮอตพีเทล 10 แห่ง รวม 4000 เตียง ตลอดจนให้ความร่วมมือที่ดีต่อหน่าวยงานภาครัฐ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของรางวัลโนเบล ที่เคยสร้างโรงพยาบาลกว่า 155 แห่ง และมีแผนสร้างโรงพยาบาลเพื่อสังคมในบังกลาเทศ ครอบคลุมทั่วประเทศ จึงได้เดินทางมาเยี่ยมชมความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีของโรงพยาบาลในเครือ THG พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานสาธารณสุขเพื่อสังคม ซึ่งการเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับจาก น.ส.นลิน วนาสิน กรรมการบริหารบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป
ทั้งนี้เจ้าของรางวัลโนเบล ยังได้กล่าวด้วยระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จากการรับมือวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 มีส่วนอย่างมากที่จะเป็นต้นแบบแนวคิด ระบบ Social Business ที่จะเป็นโรงพยาบาลทางเลือกของประชาชนทุกชนชั้น เป็นศูนย์รวมให้อิสรภาพของแพทย์ และพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ โดยเฉพาะแนวคิดของระบบ Social Business ส่วนที่สำคัญคือ ต้องก่อสร้างโรงพยาบาลเพื่อสังคมในบังกลาเทศ ครอบคลุมทั่วประเทศ การได้เดินทางมาเยี่ยมชมความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีของ THG ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในประเทศไทย
ศ.มูฮัมหมัดยูนูสยังกล่าวถึงแนวความคิด ”ไมโครเครดิต”หรือการให้กู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันแก่ชาวบ้านที่ยากจนเกินกว่าจะเข้าถึงแหล่งทุน ณ เวลานี้ประสบปัญหา 3 ด้าน คือ 1.แนวคิดของสถาบันการเงินที่มุ่งให้บริการทางการเงินเฉพาะกลุ่มคนมีฐานะเท่านั้น 2.ปัญหาในเรื่องของหลักศาสนาที่มีมุมมองในการต่อต้านสตรีไม่ให้มีบทบาททางสังคม และ 3.กลุ่มผู้ชายที่มองว่าเหตุใดต้องให้ความช่วยเหลือสตรี ขณะที่ ทั้งทีความจริงสตรีชาวบังคลาเทศมีหัวก้าวหน้าและทันสมัย โดยหลากหลายธุรกิจที่ทันสมัยก็เกิดจากกลุ่มสตรี เป็นต้น
ภายหลังการผลักดันแนวคิดให้เกิดการยอมรับสตรี ทำให้ทุกวันนี้ ทุกกลุ่มคนสามารถได้รับการสนับสนุนในการเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น ทั้งนี้ สำหรับการสนับสนุนไมโครเครดิตนั้น เป็นแนวคิดที่ทำได้ในทุกประเทศของโลก รวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตามในหลายประเทศก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะธุรกิจมองในเรื่องผลกำไรเป็นหลัก ซึ่งขัดต่อปรัญญาของ Social Business การลงมือทำธุรกิจจะต้องช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปด้วยกัน ปัจจุบันปัญหาที่ผ่านมาในบังคลาเทศ คือ มีจำนวนโรงพยาบาลจำนวนที่น้อยและพบว่า มีจำนวนแพทย์ 3 คน ต่อ จำนวนพยาบาล 1 คน ดังนั้น เขาจึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์และพยาบาล เพื่อผลิตแพทย์และพยาบาลให้เพียงพอและอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับระบบสาธารณสุขในประเทศ การเดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดการระบาดโควิดที่ผ่านมานั้น พบว่า การให้บริการวัคซีนไม่มีความทั่วถึงและเท่าเทียม โดยพบปัญหาลิขสิทธิ์ในการถือครองวัคซีนโควิดในบางกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะ 10 ประเทศที่มีความร่ำรวยได้มีการถือครองวัคซีนถึง 80% ของปริมาณวัคซีนทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาราคาวัคซีนแพงเกินความเป็นจริง สิ่งสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้มีบริษัทที่ผลิตยาและดูแลการผลิตในลักษณะที่เป็น Social Business เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างครอบคลุม