รู้จักโรคไฟโบรมัยอัลเจีย อาการปวดเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้
รู้จักโรคไฟโบรมัยอัลเจีย อาการปวดเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้
แพทย์เตือนผู้ที่ทำงานหนัก มีความเครียดสะสม หากมีการปวดทั่วร่างกายเรื้อรังนานกว่า 3 เดือน อ่อนเพลีย และความผิดปกติของอารมณ์และการนอนหลับ และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งมักได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้าเนื่องจากมีอาการคล้ายโรคออฟฟิศซินโดรม โรคกล้ามเนื้อ โรคทางระบบประสาท ส่งผลต่อสุขภาพ ชีวิตครอบครัวและความสัมพันธ์ของผู้ป่วย
พญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยที่ไม่มีการอักเสบ และมีอาการทางด้านจิตใจเกิดร่วมด้วย เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าหรือความเฉื่อยชา ส่วนใหญ่เกิดในวัยทำงานอายุเฉลี่ย 30 – 50 ปี ความชุกอยู่ระหว่าง 2%-8% ของประชากร1 ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ แต่โรคนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยย่ำแย่เมื่อเทียบกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ
อาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจียมีหลายอย่าง ได้แก่ อาการปวดที่กระจายตามร่างกาย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น เวียนศีรษะเมื่อยืนขึ้น นอนไม่หลับ แสบร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องผูก เหงื่อออกมาก คันทั่วร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหรือโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบซึ่งมีที่มาจากระบบประสาทอัตโนมัติ2 ปัจจุบัน ยังไม่ทราบที่มาของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่อาจได้รับการกระตุ้นจากความเครียดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง การติดเชื้อ การผ่าตัด การบาดเจ็บ ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียต้องได้รับการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งทางเภสัชวิทยา การออกกำลังกายในระดับปานกลาง และการรักษาทางจิตใจร่วมกัน
ภญ.นันท์นภัสถ์ กิติรัตน์ตระการ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโสกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด บริษัท เวียร์ทริศ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ยังไม่เป็นที่รู้จักจึงมีข้อมูลโรคน้อย ทำให้กว่าจะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องใช้เวลา 1 – 5 ปี3 หรือนานกว่านั้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาช้า เกิดความยากลำบากในการทำกิจกรรมประจำวัน ขาดประสิทธิภาพในงานทำงาน มักพบว่าผู้ที่ป่วยโรคไฟโบรไมอัลเจียนั้นต้องลางานสูงกว่าค่าเฉลี่ย4
บริษัทฯ มุ่งมั่นให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกช่วงวัยของชีวิต ในโอกาสวันโรคไฟโบรมัยอัลเจีย วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 จึงได้จัดกิจกรรม UNREAL PAIN (The Fibromyalgia Journey) เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียและความปวดที่แสดงสัญญาณโรค ณ ห้อง Ballroom 2 ชั้น 8 โรงแรมโซล บางกอก สถานีรถไฟใต้ดินสีลม เวลา 14.00-16.20 น กิจกรรมสำคัญประกอบด้วย ไขข้อสงสัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียกับความปวดที่หาสาเหตุไม่ได้ คลาสพิลาทีสคลายความปวด โดยคุณแอนนี่ เพชรรัตน์ สิริเลิศสุวรรณ จาก Pilates Studio นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานจะได้รับการตรวจและคำแนะนำเฉพาะบุคคลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดยสามารถลงทะเบียนร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่เบอร์ 062 689 1455 หรือสมัครได้ที่ลิงค์ UNREAL PAIN (The Fibromyalgia Journey) (รับจำนวนจำกัด)
ข้อมูลอ้างอิง:
Clauw DJ, Fibromyalgia: a clinical review, JAMA. 2014;311(15):1547-1555, doi: 10.1001/jama.2014.3266 (Accessed April 2022)
Rivera, J., 2022. ¿De dónde vienen los síntomas?. [online] Fibromialgia sin miedos.
Elma Research LTD, March 2022 double-blinded quantitative survey based on a nationally representative population panel conducted in six countries (Brazil, China, Mexico, Taiwan, Thailand, and Turkey). Total sample: 553 men and women suffering from fibromyalgia, aged 25-65 yo. Survey commissioned by Viatris. Data on file.
Belenguer, R., Carbonell A., García J., Luciano J., Martín A., Martínez M., et al. 2022. A beginner’s guide to fibromyalgia.